หน้าหลัก
ITA
LPA
ประกาศจากระบบ e-GP
ประกาศจากระบบ e-GP ในเครือข่าย
เทศบาลตำบล ห้วยกรดพัฒนา ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ
สำนักงานเทศบาลตำบล
ห้วยกรดพัฒนา
นายจำรัส แพ่งศรี
รองนายกเทศมนตรี รักษาราชการแทน
นายกเทศมนตรีตำบลห้วยกรดพัฒนา
วิสัยทัศน์
''คุณภาพชีวิตดีถ้วนหน้า
พัฒนาเป็นตำบลน่าอยู่
เพิ่มพูนความรู้ประกอบอาชีพ
ส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียง''
ทต.ห้วยกรดพัฒนา
คณะผู้บริหาร
เทศบาลตำบลห้วยกรดพัฒนา
เทศบาลตำบลห้วยกรดพัฒนา
1
2
3
 
 



 
ระบบฐานข้อมูลด้านการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม เทศบาลตำบลห้วยกรดพัฒนา อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท  

ลำดับภาพที่ 1/6

ลำดับภาพที่ 2/6

ลำดับภาพที่ 3/6

ลำดับภาพที่ 4/6

ลำดับภาพที่ 5/6

ลำดับภาพที่ 6/6
<<
>>
X
คลิกที่ภาพเพื่อขยาย

ระบบฐานข้อมูลด้านการศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม
เทศบาลตำบลห้วยกรดพัฒนา อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท
ข้อมูลเกี่ยวกับศาสนสถาน    
ในเขตตำบลห้วยกรดพัฒนา  มีศาสนสถานทั้งหมด  4  แห่ง ได้แก่
วัดมาติการามที่อยู่ หมู่ 5 ตำบลห้วยกรด อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท 17140 โทรศัพท์ 0-5643-8100
วัดช่องลมที่อยู่ หมู่ 4 ตำบลห้วยกรด อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท 17140
วัดดอนโพธิ์ศรี ที่อยู่ หมู่ 3 ตำบลห้วยกรด อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท 17140
วัดคลองงิ้ว ที่อยู่ หมู่ 2 ตำบลห้วยกรด อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท 17140


ข้อมูลเกี่ยวกับศิลปะ  วัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น  และวันสำคัญทางศาสนา
วันมาฆบูชา  (ขึ้น  15 ค่ำ เดือน 4)                                                                                 มาฆบูชา เป็นวันสำคัญของพระพุทธศาสนาวันหนึ่ง ซึ่งเป็นที่รู้กันว่า เป็นวันเกิดพระธรรม ถือว่าเป็นวันที่ พระพุทธเจ้า ได้ประกาศ หลักธรรม คำสั่งสอนของพระองค์ เพื่อให้พระอรหันต์ทั้งหลาย ที่มาประชุมกันในวันนั้น นำไปเผยแผ่ วันมาฆบูชา เป็นวันบูชาพิเศษ
ประเพณีสงกรานต์และวันผู้สูงอายุ  (13 - 15  เมษายนของทุกปี)                                                             ประเพณีสงกรานต์ ถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทย  ซึ่งตรงกับของทุกปีวันที่  13 - 15 เมษายน ของทุกปี  มีการทำบุญตักบาต และสรงน้ำพระ  รดน้ำขอพรผู้สูงอายุให้อยู่เย็นเป็นสุข
วันวิสาขบูชา  (ขึ้น  15 ค่ำ เดือน 7)                                                                                                      วันวิสาขบูชา หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า 3 ประการ คือ เป็นวันประสูติ ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า และปรินิพพาน
วันอาสาฬหบูชา  (ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8)                                                                                   วันอาสาฬหบูชา หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 วันอาสาฬหบูชาเป็นวันที่พระพุทธเจ้าได้ทรงประกาศพระพุทธศาสนาเป็นครั้งแรก โดยการแสดงปฐมเทศนา โปรดพระปัญจวัคคีย์ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน จนพระอัญญาโกณฑัญญะได้บรรลุธรรมและขอบวชเป็นพระภิกษุรูปแรกในพระพุทธศาสนา
วันเข้าพรรษา  (แรม 1 ค่ำ เดือน 8)                                                                                                       วันเข้าพรรษา เป็นวันสำคัญในพุทธศาสนาวันหนึ่ง ที่พระสงฆ์อธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ตลอดช่วงฤดูฝนที่มีกำหนดเป็นระยะเวลา 3 เดือน ตามที่พระธรรมวินัยบัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น
ยังมีประเพณีสำคัญที่ขาดไม่ได้เลย คือ \"ประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา
ประเพณีตักบาตรเทโว  (แรม 1 ค่ำ เดือน 11)                                                                                       หลังวันออกพรรษา 1 วัน คือ แรม 1 ค่ำ เดือน 11 จะมีการ \"ตักบาตรเทโว\" หรือชื่อเต็มตามคำพระว่า \"เทโวโรหนะ\" แปลว่า การหยั่งลงจากเทวโลก โดยสามารถเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า \"ตักบาตรดาวดึงส์\" โดยอาหารที่นิยมนำไปใส่บาตรคือ ข้าวต้มมัด และ ข้าวต้มลูกโยน
ประเพณีลอยกระทง  (ขึ้น  15 ค่ำ เดือน 12)                                                                                 ประเพณีลอยกระทงเป็นประเพณีโบราณของไทย แต่ไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าทำกันมาตั้งแต่เมื่อไร เท่าที่ปรากฎกล่าวได้ว่ามีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นราชธานี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสันนิษฐานว่า เดิมทีเดียวเห็นจะเป็นพิธีของพราหมณ์
การละเล่นรำมะนาและกลองยาว                                                                                                     รำรำมะนา การเล่นรำมะนา รำวงรำมะนา และการแสดงรำมะนา เป็นชื่อที่เรียก การแสดงพื้นเมืองของชาวตำบลห้วยกรด อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท รวมถุงตำบลห้วยกรดพัฒนาด้วย ที่เรียกชื่อแตกต่างกันออกไปเนื่องจากการถ่ายทอด การตั้งเป็นคณะว่าจ้างไปแสดง การเผยแพร่ไปยังท้องถิ่นใกล้เคียง หลายยุคสมัย ทำให้การเรียกชื่อการเล่นชนิดนี้มีหลาย “ รำรำมะนา”เป็นการเรียกการร่ายรำประกอบการ เล่นเครื่องดนตรีพื้นเมือง โดยนำเอาคำว่า “ รำ” นำหน้าเครื่องดนตรี
ตัวอย่างเช่น
     - รำโทน เป็นการรำประกอบจังหวะโทน เรียกว่า รำโทน
     - รำกลองยาว เป็นการรำประกอบจังหวะกลองยาว เรียกว่า รำกลองยาว เป็นต้น

 

ข่าว ณ. วันที่ 8 ก.ค. 2563 เวลา 16.10 น. โดย คุณ สุพรรณี รอดเหลือ

ผู้เข้าชม 352 ท่าน

 
สายตรงนายก
รับเรื่องราวร้องเรียน
โทร. 056-945-030-1
 
 
 
เทศบาลตำบลห้วยกรดพัฒนา อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท 17140 โทรศัพท์ : 056-945-030-1 โทรสาร : 056-945-030-1 E-mail:huaikrotpattana2020@gmail.com
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ.2551 ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ 2537 เทศบาลตำบลห้วยกรดพัฒนา
จำนวนผู้เข้าชม 11,623,639 เริ่มนับ 1 ส.ค. 2557 จัดทำโดย : NAXsolution.com
 
  แผนผังเว็บไซต์  
  Version ขั้นต่ำของ Browser IE9 / Firefox 3.5 / Chrome / Safari4 / Opera10  
เทศบาลตำบลห้วยกรดพัฒนา